วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

...ขอต้อนรับทุกท่านสู่เว็บบล็อก "คุรุราษฎร์พอเพียง" ด้วยความยินดี...
..โครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมเชิงวิชาการด้านเศรษฐกิจพอเพียง..
"ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด   ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น  และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และยั่งยืน  ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และการปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว  ระดับชุมชน  จนถึงระดับรัฐ  ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิค้นกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต  และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะ สมดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญาและความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคมสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
                โรงเรียนคุรุราษฎร์รังสฤษฎ์ เล็งเห็นคุณค่า ประโยชน์ และความสำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  จึงได้น้อมนำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาระบบการศึกษา  โดยการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการทั้งด้านเนื้อหา กิจกรรมและกระบวน เพื่อให้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางเป็นแนวทางในการดำรงชีพอย่างยั่งยืนที่สามารถประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับพระสกนิกรทุกหมู่เหล่าและทุกเพศทุกวัย
 
วัตถุประสงค์
        1.  เพื่อพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
        2.  เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพด้วยกระบวนการนิเทศแบบผสมผสาน
        3.  เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงแก่บุคลากรในโรงเรียนและชุมชน 
เป้าหมาย
                ด้านปริมาณ            บุคลากรในโรงเรียน  จำนวน  1,730  คน
                ด้านคุณภาพ           บุคลากรในโรงเรียนและชุนชนมีความรู้  ความเข้าใจ  ตระหนักเห็นคุณค่าความสำคัญตามแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ภาพกิจกรรมในโรงเรียนและชุมชนที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจพอเพียง